คดีความทางแพ่ง
คดีแพ่ง คือ คือคดีที่มีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้ง หรือการกล่าวหากันที่เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง มีผู้กระทำการเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง รำคาญ ก่อความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิตามกฎหมายของบุคคลอื่นโดยที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เป็นคดีที่มีข้อขัดแย้งซึ่งผู้ได้รับความเสียหายฟ้องบุคคลอื่นที่เป็นเหตุของข้อขัดแย้งนั้น ซึ่งศาลจะนัดชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท สืบพยาน และมีคำพิพากษา เรียกว่า “คดีมีข้อพิพาท” อย่างหนึ่ง ( เช่น ละเมิดสิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต ร่างกาย สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศ และชื่อเสียง)
คดีความแพ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1.คดีที่มีข้อพิพาท
คือคดีที่มีข้อพิพาท มีคู่ความฝ่ายหนึ่งคือ “โจทก์” ซึ่งเป็นฝ่ายที่ยื่นคำฟ้อง ส่วนอีกฝ่ายคือ “จำเลย” ซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกฟ้อง
คดีที่มีข้อพิพาทสามารถฟ้องได้เมื่อมีการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อสิทธิที่เรามีตามกฎหมาย หรือกล่าวได้ง่าย ๆ ว่าฟ้องเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายของตนเอง ฟ้องเพื่อให้อีกฝ่ายทำตามหน้าที่ตนเอง ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ในการโต้แย้ง สืบหาความจริง เพื่อให้ศาลตัดสินว่าต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่ง ตัวอย่างเช่น
- ฟ้องร้องให้ชำหนี้
- ฟ้องร้องกรณีผิดสัญญาซื้อขาย
- ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
- ฟ้องร้องเรียกค่าปรับ
- ฟ้องร้องเรียกค่านายหน้า เป็นต้น
2.คดีที่ไม่มีข้อพิพาท
คดีที่ไม่มีข้อพิพาทเป็นคดีที่ผู้ร้องขอให้ตัวเองได้รับสิทธิหนึ่งประการจากศาลเพื่อให้ได้รับการรับรองสิทธิตามกฎหมาย เพื่อให้ได้รับอำนาจในการดำเนินการต่าง ๆ คดีแบบนี้ไม่มีคู่ความ แต่หากมีบุคคลที่ยื่นคำคัดค้านภายในวันนัดต่อสวน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นคดีที่มีข้อพิพาทได้เช่นเดียวกัน เช่น
- การขอเป็นผู้จัดการมรดก
- การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์
- การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์
- การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือสาบสูญ
- การขอสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
- การขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร