คดีมรดก
มรดกนั้นสำคัญไฉน…คำว่า “มรดก” คือ ทรัพย์สินทุกชิ้นของผู้ตาย รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ตาย ซึ่งเรียกทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นว่า “กองมรดก”
ผู้มีสิทธิรับมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามกฎหมาย แบ่งเป็นสองประเภท คือ “ทายาทโดยรับพินัยกรรม” และ “ทายาทโดยธรรม”
- ทายาทโดยพินัยกรรม
สิทธิของผู้รับพินัยกรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ก่อนตายเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วน เว้นเสียแต่ว่าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นตกเป็นอันไร้ผลตามกฎหมาย เช่น ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้ต้องปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นสู่กองมรดกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป และบุคคลที่เคยมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้เช่นกัน
- ทำยำทโดยธรรม
สิทธิของทายาทโดยธรรมในการรับมรดกนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ตายได้ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำ แต่พินัยกรรมนั้นไร้ผลตามที่กล่าวมาข้างต้น และทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นมีสภาพบุคคล คือ เกิดเป็นทารกแล้วในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนกรณีของทารกในครรภ์มารดาก็อาจเป็นทายาทโดยธรรมได้ หากภายหลังได้คลอดเป็นทารก
ภายใน 310 วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับดังนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635
กรณีเกียวกับมรดก
- การตั้งผู้จัดการมรดก
- สิทธิในการรับมรดกของบุตรและบิดามารดา และบุคคลตามมาตรา 1629
- มรดกพระ
- ทำพินัยกรรม
- และข้อพิพาทอื่นๆอันเกี่ยวกับมรดก