ทนายความคดีกู้ยืมเงิน
ทนายความคดีกู้ยืมเงิน
สาระสำคัญในคดีกู้ยืมเงิน
- การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะนำคดีมาฟ้องร้องผู้กู้ต่อศาลให้บังคับดคีไม่ได้
- การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว ลูกหนี้ได้ชำระหนี้แล้วควรจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่าง หนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นเวนคืนมายังฝ่ายผู้กู้แล้ว หรือได้แทงเพิก ถอนลงในเอกสารแห่งการกู้ยืมเงินนั้นแล้วด้วย เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์ว่าหนี้ได้ชำระไปทั้งหมดหรือแต่บาง ส่วนไปแล้ว
- การกู้ยืมเงินจะคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 หรือ 15 % ไม่ได้มิฉะนั้น ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจะตกเป็น โมฆะ
- ถ้ามีดอกเบี้ยค้างชำระ จะเอาดอกเบี้ยนั้นทบกับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยจากผลรวมนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเป็น ดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และคู่สัญญากู้ยืมเงินตกลงกันให้ทำได้เป็นหนังสือ
- คดีกู้ยืมเงินโดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่ต้องมีเอกสารหรือหนังสือสัญญากู้มาแสดงในการสืบพยาน ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
หน้าที่ของทนายความคดีกู้ยืมเงิน
- 1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- 2. ตรวจสอบเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีกู้ยืมเงินโดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่ต้องมี เอกสารหรือหนังสือสัญญากู้มาแสดงในการสืบพยาน
- 3. ตรวจสอบยอดหนี้และดอกเบี้ยของลูกความจำนวนโดยรวมทั้งหมด
- 4. ค้นข้อกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตรวจสอบอายุความหรือระยะเวลาในการ ดำเนินคดีของลูกความ
- 5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ
- 6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อ ประกอบการตัดสินใจของลูกความ